Posted on Leave a comment

30 ประเภทและขนาดของงานวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมโยธา up date

30 ประเภทและขนาดของงานวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมโยธา up date

เริ่มใช้ 2 มกราคม 2566 งานดังต่อไปนี้สามารถใช้ปรับผลงานเลื่อนระดับเป็น สามัญวิศวกรโยธาและวุฒิวิศวกรโยธา หรือ การพิจารณาผลงานของภาคีวิศวกรโยธาพิเศษ

มี 6 ประเภทงาน

1) งาน ให้คำปรึกษา ทำได้เฉพาะวุฒิวิศวกรโยธาและทำได้ทุกประเภทงาน

2) งานวางโครงการ สามัญวิศวกรโยธา สามารถทำได้ ภาคีวิศวกรโยธา ไม่สามารถทำได้

3) งานออกแบบและคำนวณ ภาคีทำได้ตามขอบเขต

4) งานควบคุมการสร้างหรือการผลิต ภาคีทำได้ตามขอบเขต

5) งานพิจารณาตรวจสอบ ภาคีทำได้ตามขอบเขต

6) งานอำนวยการใช้ ภาคีทำได้ตามขอบเขต

สามัญวิศวกรโยธา ทำได้ข้อ 2-6

วุฒิวิศวกรโยธา ทำได้ข้อ 1-6

สำหรับภาคีวิศวกรโยธา ถ้ายื่นงานเกินขอบเขตอำนาจ ต้องมีสามัญวิศวกรหรือวุฒิวิศวกรโยธา เซ็นต์ร่วม

สำหรับงานวิศวกรรมควบคุม มีดังนี้

(1) อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไป โครงสร้างของอาคารที่ชั้นใดชั้นหนึ่งมีความสูงตั้งแต่ 4 เมตรขึ้นไป อาคารที่มีระยะห่างศูนย์กลางเสาหรือสิ่งรองรับอื่นตั้งแต่ 5 เมตรขึ้นไป หรือองค์อาคารยื่นจากขอบนอกของที่รองรับตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป

– ภาคีวิศวกรโยธา ออกแบบได้ไม่เกิน 4 ชั้น หรือชั้นใดชั้นหนึ่งสูงไม่เกิน 5 เมตร หรือมีช่วงคานยาวทุกขนาด ควบคุมงานได้ไม่กิน 8 ชั้น

(2) อาคารสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารทุกชนิด

– ภาคีวิศวกรโยธา งานออกแบบและคำนวณทำไม่ได้ ควบคุมงานก่อสร้างได้ไม่เกิน 8 ชั้น

(3) อาคารตามประเภทที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยเรื่องการรับน้ำหนัก ความต้านทานความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว

(4) อาคารที่มีพื้นที่รวมกันตั้งแต่ 150 ตารางเมตรขึ้นไป ซึ่งอยู่บนพื้นที่เชิงลาดที่มีความลาดตั้งแต่ 35 องศาขึ้นไป

(5) คลังสินค้า ไซโล ห้องเย็น ยุ้งฉาง หรือศูนย์กระจายสินค้า ที่มีความจุตั้งแต่ 100 ลูกบาศก์เมตรขึ้นไป

(6) อัฒจันทร์ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือที่มีส่วนใดส่วนหนึ่งของพื้นอัฒจันทร์สูงจากระดับฐานหรือพื้นดินที่ก่อสร้างตั้งแต่ 2.50 เมตรขึ้นไป

(7) ท่าเทียบเรือหรืออู่เรือสำหรับเรือที่มีระวางขับน้ำตั้งแต่ 50 เมตริกตันขึ้นไป

(8) เขื่อน ฝาย หรืออาคารชลประทานประเภทบังคับน้ำ ที่มีความสูงตั้งแต่ 1.50 เมตรขึ้นไป

– ภาคีวิศวกรโยธา ออกแบบและคำนวณอาคารที่มีความสูงได้ไม่เกิน 2.50 เมตร หรือความจุไม่เกิน 1 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือมีอัตราการไหลไม่เกิน 5 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีขึ้นไป ควบคุมงานก่อสร้างได้ทุกขนาด

(9) อุโมงค์ส่งน้ำ ท่อส่งน้ำ ท่อระบายน้ำ หรือช่องระบายน้ำ ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางภายในตั้งแต่ 0.80 เมตรขึ้นไป หรือที่มีพื้นที่หน้าตัดตั้งแต่ 0.50 ตารางเมตรขึ้นไป หรือที่มีอัตราการไหลของน้ำตั้งแต่ 1 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีขึ้นไป

(10) ระบบชลประทานหรือระบบระบายน้ำ ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 500 ไร่ ต่อโครงการขึ้นไป

(11) งานวางแนวและกำหนดระดับของทางขนส่งในระบบราง ทางรถสาธารณะ ทางหลวง ทางสาธารณะ หรือทางวิ่ง ทางขับ หรือลานจอดของสนามบิน ทุกขนาด

(12) งานเสริมความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างหรือฐานรากทุกขนาด

(13) งานยกหรือเคลื่อนย้ายอาคารทุกประเภทที่มีน้ำหนักรวมของอาคารตั้งแต่ 50 เมตริกตันขึ้นไปหรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 150 ตารางเมตรขึ้นไป

(14) งานต่อเติม รื้อถอน หรือดัดแปลงอาคารทุกประเภท ที่ทำให้สัดส่วนของอาคารผิดไปจากแบบแปลนหรือรายการประกอบแบบที่ได้รับอนุญาตเกินร้อยละห้าของพื้นที่อาคารนั้น หรือเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างของอาคารส่วนหนึ่งส่วนใดเกินร้อยละสิบ

(15) งานขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินมากกว่า 3 เมตร หรือพื้นที่ปากบ่อดินมากกว่า 10,000 ตารางเมตร

– ภาคีวิศวกรโยธาออกแบบไม่ได้

(16) งานถมดินที่มีพื้นที่ของเนินดินติดต่อเป็นผืนเดียวกันมากกว่า 2,000 ตารางเมตร และมีความสูงของเนินดินตั้งแต่ 2 เมตร นับจากระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง

– ภาคีวิศวกรโยธาออกแบบไม่ได้

(17) โครงสร้างที่มีลักษณะเป็นหอ ปล่อง หรือศาสนวัตถุ เช่น หอถังน้ำ หอกระเช้าไฟฟ้า อนุสาวรีย์ พระพุทธรูป หรือเจดีย์ ที่มีความสูงตั้งแต่ 6 เมตรขึ้นไป

(18) โครงสร้างสำหรับใช้ในการรับส่งหรือติดตั้งอุปกรณ์รับส่งระบบโทรคมนาคมหรือเสาไฟฟ้าที่มีความสูงจากระดับฐานของโครงสร้างตั้งแต่ 25 เมตรขึ้นไป หรือที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 200 กิโลกรัมขึ้นไป

(19) โครงสร้างสะพานทุกประเภทที่มีระยะห่างระหว่างศูนย์กลางเสาหรือตอม่อช่วงใดช่วงหนึ่งยาวตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป

(20) โครงสร้างใต้ดิน อุโมงค์ สิ่งก่อสร้างชั่วคราวที่อยู่ใต้ดิน โครงสร้างกันดิน คันดินป้องกันคลอง ส่งน้ำ หรือคลองระบายน้ำที่มีความสูงหรือความลึกตั้งแต่ 1.50 เมตรขึ้นไป

(21) โครงสร้างสำหรับทางขนส่งในระบบราง ทางรถสาธารณะ ทางหลวง ทางสาธารณะ ทางวิ่ง ทางขับ หรือลานจอดของสนามบิน ทุกขนาด

– ภาคีวิศวกรโยธาออกแบบและคำนวณไม่ได้ แต่ควบคุมงานได้ทุกขนาด

(22) โครงสร้างเก็บกักของไหล เช่น ถังเก็บน้ำ ถังเก็บน้ำมัน หรือสระว่ายน้ำที่มีความจุตั้งแต่ 50 ลูกบาศก์เมตรขึ้นไป

– ภาคีวิศวกรโยธาออกแบบได้ไม่เกิน 500 ลูกบาศก์เมตร ควบคุมงานได้ทุกขนาด

(23) โครงสร้างที่เป็นคาน เสา พื้น กำแพง ผนัง หรือบันได ที่ใช้รับน้ำหนักประกอบด้วยคอนกรีตหล่อสำเร็จหรือคอนกรีตอัดแรงหล่อสำเร็จ ทุกขนาด

(24) โครงสร้างรองรับท่อที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 0.30 เมตรขึ้นไป หรือพื้นที่หน้าตัดของทุกท่อรวมกันตั้งแต่ 0.10 ตารางเมตรขึ้นไป

(25) โครงสร้างรองรับหรือติดตั้งเครื่องเล่นที่เคลื่อนที่ได้โดยมีความเร็วตั้งแต่ 6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขึ้นไป หรือมีความสูงจากระดับพื้นที่ตั้งของเครื่องเล่นถึงระดับพื้นที่สูงสุดที่ผู้เล่นเครื่องเล่นขึ้นไปเล่นตั้งแต่ 2.50 เมตรขึ้นไป หรือมีส่วนที่ต้องใช้น้ำมีความลึกของระดับน้ำตั้งแต่ 0.80 เมตรขึ้นไป

(26) โครงสร้างของปั้นจั่นหอสูงหรือเดอริกเครน ทุกขนาด

(27) ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป และมีความสูงจากพื้นดินตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป หรือป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป ที่ติดตั้งอยู่บนหลังคา ดาดฟ้า หรือกันสาด หรือที่ติดกับส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคาร

(28) เสาเข็มที่มีความยาวตั้งแต่ 6 เมตรขึ้นไป หรือที่รับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยตั้งแต่ 3 เมตริกตัน ขึ้นไป

(29) นั่งร้านหรือค้ำยัน ที่มีความสูงตั้งแต่ 4 เมตรขึ้นไป

(30) แบบหล่อคอนกรีตและโครงสร้างรองรับแบบหล่อคอนกรีตสำหรับ

(ก) เสา ผนัง หรือกำแพง ที่มีความสูงตั้งแต่ 4 เมตรขึ้นไป

(ข) คานหรือแผ่นพื้น ที่มีระยะห่างระหว่างศูนย์กลางเสาหรือสิ่งรองรับอื่นตั้งแต่ 5 เมตรขึ้นไป หรือที่มีความสูงตั้งแต่ 3 เมตรขึ้นไป

(ค) ฐานรองรับน้ำหนักที่มีความสูงตั้งแต่ 3 เมตรขึ้นไป

#วิศวกรโยธา #วิศวกรโยธาปฏิบัติการ https://doy10x.com/

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *